เรื่องที่ 7 ลักษณะของคําไทย คําภาษาท้องถิ่น และคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ลักษณะของคำไทยแท้
1.คำไทยแท้ส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว เรียกว่าเป็น ภาษาคำโดด และความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า แขน ขา หมา แมว ฟ้า ฝน นั้ง นอน ฯลฯ
1.1. การกร่อนเสียง คือ คำ 2 คำ เมื่อพูดเร็ว ๆ ทำให้ออกเสียงคำแรกสั้นลงกลายเป็นคำ 2 พยางค์ เช่น
ตาวัน เป็น ตะวัน
หมากม่วง เป็น มะม่วง
สายดือ เป็น สะดือ
ตาปู เป็น ตะปู
1.2. การแทรกเสียง คือ การเติมพยางค์ลงไปตรงกลางระหว่างคำ 2 คำ เช่น
นกจอก เป็น นกกระจอก
ลูกเดือก เป็น ลูกกระเดือก
1.3. การเติมพยางค์หน้า คือ การเติมพยางค์ที่หน้าคำมูลโดยให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
ทำ เป็น กระทำ
โจน เป็น กระโจน
เดี๋ยว เป็น ประเดี๋ยว
2.คำไทยแท้มักจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
แม่กก สะกดด้วยตัว ก เช่น กัก เด็ก ลูก จอก
แม่กง สะกดด้วยตัว ง เช่น เก่ง นั่ง พิง ถัง
แม่กด สะกดด้วยตัว ด เช่น กด ปิด อวด ปูด
แม่กน สะกดด้วยตัว น เช่น กิน นอน ฉุน เห็น
แม่กบ สะกดด้วยตัว บ เช่น กับ แคบ จบ ซูบ
แม่กม สะกดด้วยตัว ม เช่น ชาม หอม ดื่ม ตุ่ม
แม่เกอว สะกดด้วยตัว ว เช่น แมว หิว ข้าว หนาว
แม่เกย สะกดด้วยตัว ย เช่น คอย ขาย ปุ๋ย ตาย
3.คำไทยแท้จะไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ
ยกเว้นบางคำต่อไปนี้ที่เป็นคำไทย ได้แก่ ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ฆ้อง ตะเฆ่ ใหญ่ หญ้า เฒ่า ณ ธ ธง เธอ สำเภา ภาย เศร้า ศึก ศอก ศอ ศก
4.คำไทยจะใช้ “ใ” (ไม้ม้วน)
5.คำไทยจะมีรูปวรรณยุกต์กำกับ ทำให้ออกเสียงต่างกัน และทำให้มีความหมายต่างกัน
6.คำไทยแท้ไม่นิยมใช้ตัวการันต์ เช่น ยัน สัด สัน เป็นต้น
7. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้คำควบกล้ำ เช่น เรา ไร่ ดี ดาบ หิน เป็นต้น

ภาษาถิ่น คือ คำที่เรียกภาษาที่ใช้พูดในผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆกันโดยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษานั้น
             ภาษามาตรฐานคือ ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งการพูดและการเขียนถือเป็นภาษากลาง ที่ใช้ติดต่อสื่อสารเข้าใจกันทั้งประเทศด้วยสำนวน และสำเนียงเดียวกันใช้ติดต่อสื่อสารในวงราชการสถานศึกษาและสถาบัน สำคัญในสังคมในสถานการณ์ที่เป็นทางการภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษามาตรฐานนั้นมักจะเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ ติดต่อสื่อสาร กันอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ดังเช่น ภาษามาตรฐานของไทยก็ คือ ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร