5.00(1)

ทักษะการพัฒนาอาชีพ อช21002

หลักสูตรรายวิชา

เป็นรายวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ

โครงสร้างรายวิชาทักษะการพัฒนาอาชีพ อช 21002

สาระการเรียนรู้
การประกอบอาชีพจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยศึกษา วิเคราะห์ ทักษะในกระบวนการผลิต กระบวนการตลาดในอาชีพที่ประกอบการอยู่ในขณะนั้นว่ามีจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างไร เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้น

มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ
มีความรู้ความเข้าใจทักษะในการพัฒนาอาชีพที่ตัดสินใจเลือกบนพื้นฐานความรู้ กระบวนการผลิต กระบวนการตลาดที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสม และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถจัดทำแผนงานและโครงการธุรกิจเพื่อพัฒนาอาชีพเข้าสู่ตลาดการแข่งขันตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสู่ความเข้มแข็ง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายทักษะที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต กระบวนการตลาดที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการพัฒนาอาชีพที่ตัดสินใจเลือกได้
2. เห็นความสัมพันธ์ของการจัดระบบเตรียมความพร้อมกับการพัฒนาอาชีพ
3. ปฏิบัติการวิเคราะห์ทักษะในการพัฒนาอาชีพ
4. อธิบายความหมายความสำคัญของการจัดการอาชีพเพื่อพัฒนาอาชีพได้
5. ดำเนินการปรับปรุงแผนธุรกิจด้านการจัดการการผลิตหรือการบริการ และด้านการจัดการการตลาดตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้
6. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบการพัฒนาธุรกิจกับการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีคุณธรรม
7. ปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการพัฒนาอาชีพได้

ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 ทักษะในการพัฒนาอาชีพ
บทที่ 2 การทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาอาชีพ
บทที่ 3 การจัดการความเสี่ยง
บทที่ 4 การจัดการการผลิตหรือการบริการ
บทที่ 5 การจัดการการตลาด
บทที่ 6 การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาธุรกิจ
บทที่ 7 โครงการพัฒนาอาชีพ

สารบัญรายวิชา

27 บทเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 ทักษะในการพัฒนาอาชีพ?

สาระการเรียนรู้ การประกอบอาชีพจำเป็นต้องมีการพัฒนาทั้งด้านกระบวนการผลิต และกระบวนการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าอยู่ในตลาดได้นาน โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาให้เหมาะสมนอกจากจะมีความรู้ ความสามารถในทักษะกระบวนการผลิตและกระบวนการตลาดแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องมีความสามารถด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ได้แก่ การหาแหล่งที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้อาชีพมีความเข้มแข็งก่อนที่จะฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพจะต้องทราบว่า จะฝึกทักษะอะไรบ้าง แล้ววางแผนการฝึกว่าจะ ฝึกอย่างไร ที่ไหน เมื่อไร ระหว่างการฝึกควรมีการจดบันทึกเพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้

บทที่ 2 การทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาอาชีพ?

สาระการเรียนรู้ การทำแผนธุรกิจเป็นการกำหนดแนวทางในการประกอบอาชีพไว้ล่วงหน้าให้สมาชิกทุกคนในสถานประกอบการ ครอบครัว หรือ องค์กรการผลิตนั้น ๆ ได้เข้าใจร่วมกัน โดยผ่านกระบวนการระดมความคิดจากการวิเคราะห์ชุมชนสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วนำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของแผนธุรกิจนั้น ๆ

บทที่ 3 การจัดการความเสี่ยง?

สาระการเรียนรู้ เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพและการจัดการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นถึงยอดการขายสินค้าและบริหารผลกำไร สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค มีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ จะได้แนวทางในการจัดการแก้ไขความเสี่ยงเหล่านั้น เพื่อพัฒนาอาชีพให้มั่นคง

บทที่ 4 การจัดการการผลิตหรือการบริการ?

สาระการเรียนรู้ ในสภาวะการแข่งขันทางการค้าและการตลาดยุคโลกาภิวัตน์ ธุรกิจต้องมีการปรับตัวที่รวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายและปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกสินค้า และบริการ คือ คุณภาพของสินค้า จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบอาชีพต้องให้ความสำคัญและความจำเป็นในการจัดการการผลิตและการบริการ

บทที่ 5 การจัดการการตลาด?

สาระการเรียนรู้ การจัดการการตลาดมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมการตลาด สามารถศึกษาวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้ทราบโอกาสทางการตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อธุรกิจจะได้ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีความเสี่ยงน้อย ดังนั้น ตลาดจึงเป็นความอยู่รอดของธุรกิจ

บทที่ 6 การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาธุรกิจ?

สาระการเรียนรู้ การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาธุรกิจ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการแก้ปัญหา การแสวงหาความรู้ การบริหารจัดการทรัพยากรพัฒนาชุมชน การจัดทำแผนและการขับเคลื่อนแผน โดยตนเอง ด้วยกระบวนการคิด วิเคราะห์ ให้เกิดเป็นรูปธรรม จากการพออยู่พอกินไปสู่ความพอเพียงจนบรรลุความเข้มแข็งยั่งยืน ที่สามารถบอกตนเองได้ว่า สังคม ครอบครัวมีความอบอุ่น เศรษฐกิจมีความพอเพียงและมีการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดี

บทที่ 7 โครงการพัฒนาอาชีพ?

สาระการเรียนรู้ โครงการพัฒนาอาชีพเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดรายละเอียดอย่างมีระบบและมีความสัมพันธ์ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร เท่าไร ทำไม และหวังผลอะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้

แบบทดสอบหลังเรียน

เกี่ยวกับผู้สอน

ครู กศน.ตำบล ประจำตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
5.00 (2 การให้คะแนน)

3 รายวิชา

171 ผู้เรียน

ความคิดเห็นจากผู้เรียน

5.0

Total 1 Ratings

5
1 คะแนน
4
0 คะแนน
3
0 คะแนน
2
0 คะแนน
1
0 คะแนน
เรียน