แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

บทที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต

บทที่ 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

เรื่องที่ 1 การทุจริต

ทุจริต หมายถึง ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ไม่ซื่อตรง โกง คดโกง ฉ้อโกง โดยใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ. เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ปปช.)  สามารถเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นไปยังวุฒิสภา เพื่อถอดถอนข้าราชการที่คอร์รัปชันให้พ้นจากตำแหน่งได้.  ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่มีหลักฐานการทุจริตคอร์รัปชัน.  หนังสือพิมพ์ลงข่าวข้าราชการระดับสูง ในกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่พัวพันการทุจริต กินค่าหัวคิวจากคนหางาน.  การเปิดเผยข้อมูลบริษัทอย่างละเอียด  และการมีระบบบัญชีที่โปร่งใส เป็นการป้องกันผู้บริหารบริษัทไม่ให้กระทำการทุจริต. เขาถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่. ถ้าประพฤติชั่วทางกาย เรียก กายทุจริต. ถ้าประพฤติชั่วทางวาจา เรียก วจีทุจริต.  ถ้าประพฤติชั่วทางใจ เรียก มโนทุจริต.

สาเหตุของการทุจริต
๑. การขาดคุณธรรม ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความละอายบาป และเกรงกลัวบาป
๒. การขาดอุดมการณ์และอุดมคติผู้ที่ไม่มีอุดมการณ์หรืออุดมคติ ที่จะท าทุกอย่างเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ว่าการกระทำนั้นจะผิดและไม่ถูกต้องตามศีลธรรม
๓. มีค่านิยมที่ผิด ในปัจจุบันค่านิยมของสังคมได้เปลี่ยนไปจากเดิม ก่อนนี้เราเคยยกย่องคนดี คนที่มี
ความซื่อสัตย์สุจริต แต่ในปัจจุบันเรากลับยกย่องคนที่มีเงิน คนที่เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง
๔. ใช้อ านาจโดยไม่เป็นธรรม บุคคลใดที่มีอ านาจและมีความโลภเห็นแก่เงิน ก็ย่อมจะคอร์รัปชั่น

การมีอำนาจอย่างเดียวก็ย่อมจะคอร์รัปชั่น การมีอำนาจอย่างเดียวจึงไม่ทำให้คนทุจริต แต่การมีอำนาจโดยมีความโลภเห็นแก่เงิน จึงทำให้คนทุจริต
๕. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย การมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ทำให้ต้องเป็นหนี้สิน เมื่อไม่สามารถจะหาเงินมาได้โดยทางสุจริต ก็ใช้วิธีทุจริต