แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

บทที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต

บทที่ 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

เรื่องที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพสังคมให้เกิดภาวะ “ที่ไม่ทนต่อการทุจริต”โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกช่วงวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตและปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นพลเมืองดี มีจิตสาธารณะ ผ่านทางสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคม เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่เกิดพฤติกรรมที่ละอายต่อการกระทำความผิดการไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
1. ความหมายของความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต (Anti – Corruption)
คำว่า ละอาย หมายถึง การรู้สึกอายที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูก ไม่ควรความละอาย เป็นความรู้สึกอายที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม เพราะเห็นถึงโทษหรือผลกระทบที่จะได้รับจากการกระทำนั้น จึงไม่กล้าที่จะกระทำ ทำให้ตนเองไม่หลงทำในสิ่งที่ผิด นั่นคือ มีความละอายใจ ละอายต่อการกระทำผิดคำว่า ทน หมายถึง การอดกลั้นได้ ทนอยู่ได้ เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่ายความอดทน หมายถึง การรู้จักรอคอยและคาดหวัง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมั่นคง แน่วแน่
ต่อสิ่งที่รอคอย หรือสิ่งที่จูงใจให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดี
ไม่ทน หมายถึง ไม่อดกลั้น ไม่อดทน ไม่ยอม ดังนั้น ความไม่ทน หมายถึง การแสดงออกต่อการ
กระทำที่เกิดขึ้นกับตนเอง บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือสังคม ในลักษณะที่ไม่ยินยอม ไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
ความไม่ทนสามารถแสดงออกได้หลายลักษณะทั้งในรูปแบบของกริยา ท่าทาง หรือคำพูด
ความไม่ทนต่อการทุจริตหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ต้องมีการแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น เช่น การแซงคิวเพื่อซื้อของ การแซงคิวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ถูกแซงคิวจึงต้องแสดงออกให้ผู้ที่
แซงคิวรับรู้ว่าตนเองไม่พอใจ โดยแสดงกิริยาหรือบอกกล่าวให้ทราบ เพื่อให้ผู้ที่แซงคิวยอมที่จะต่อท้ายแถว
กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ถูกแซงคิว ไม่ทนต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และหากผู้ที่แซงคิวไปต่อแถวก็จะแสดงให้
เห็นว่าบุคคลนั้นมีความละอายต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
ความไม่ทนต่อการทุจริต บุคคลจะมีความไม่ทนต่อการทุจริตมาก – น้อย เพียงใด ขึ้นอยู่กับ
จิตสำนึกของแต่ละบุคคลและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ แล้วมีพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซึ่งการ
แสดงกริยาหรือการกระทำจะมีหลายระดับ เช่น การว่ากล่าวตักเตือน การประกาศให้สาธารณชนรับรู้ การแจ้งเบาะแส การร้องทุกข์กล่าวโทษ การชุมนุมประท้วง ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่รุนแรงที่สุด เนื่องจากมีการรวมตัว
ของคนจำนวนมาก และสร้างความเสียหายอย่างมากเช่นกัน
ความไม่ทนของบุคคลต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่ส่งผลในทางไม่ดีต่อตนเองโดยตรง สามารถพบเห็น
ได้ง่าย ซึ่งปกติแล้วทุกคนมักจะไม่ทนต่อสภาวะ สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีและส่งผลกระทบต่อตนเองแล้ว มักจะ
แสดงปฏิกิริยาออกมา แต่การที่บุคคลจะไม่ทนต่อการทุจริตและแสดงปฏิกิริยาออกมานั้นอาจเป็นเรื่องยาก
เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยมีแนวโน้มยอมรับการทุจริต เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์หรือให้งานสามารถดำเนิน
ต่อไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งการยอมรับการทุจริตในสังคมไม่เว้นแม้แต่เด็กและเยาวชน และมองว่าการทุจริตเป็นเรื่อง
ไกลตัวและไม่มีผลกระทบกับตนเองโดยตรง
2. ลักษณะของความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต (Anti – Corruption)
ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอาย
ไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่าเมื่อตนเองได้ทำลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
หรือได้รับความเดือดร้อนจากสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไป จึงไม่กล้าที่จะกระทำผิด และในระดับที่สองเป็นระดับที่สูง
คือ แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทำผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับ
ผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทั้งชื่อเสียงของตนเองและครอบครัวก็จะ
เสื่อมเสีย บางครั้งการทุจริตบางเรื่องเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การลอกข้อสอบ อาจจะไม่มีใครใส่ใจหรือ
สังเกตเห็น แต่หากเป็นความละอายขั้นสูงแล้ว บุคคลนั้นก็จะไม่กล้าทำ
สำหรับความไม่ทนต่อการทุจริต จากความหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ เป็นการแสดงออกอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น เพื่อให้รับรู้ว่าจะไม่ทนต่อบุคคลหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดการทุจริต ความไม่ทนต่อการ
ทุจริตสามารถแบ่งระดับต่าง ๆ ได้มากกว่าความละอาย ใช้เกณฑ์ความรุนแรงในการแบ่งแยก เช่น หากเพื่อน
ลอกข้อสอบเรา และเราเห็นซึ่งเราจะไม่ยินยอมให้เพื่อนทุจริตในการลอกข้อสอบ เราก็ใช้มือหรือกระดาษ
มาบังส่วนที่เป็นคำตอบไว้ เช่นนี้ก็เป็นการแสดงออกถึงการไม่ทนต่อการทุจริต นอกจากการแสดงออกด้วยวิธี
ดังกล่าวที่ถือเป็นการแสดงออกทางกายแล้ว การว่ากล่าวตักเตือนต่อบุคคลที่ทุจริตการประณาม
การประจาน การชุมนุมประท้วง ถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งการไม่ทนต่อการทุจริตทั้งสิ้นแต่จะแตกต่างกันไป
ตามระดับของการทุจริต ความตื่นตัวของประชาชน และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทุจริต โดยท้ายเรื่องนี้ได้
ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่มีสาเหตุมาจากการทุจริต ทำให้ประชาชนไม่พอใจและรวมตัวต่อต้าน
ความจำเป็นของการที่ไม่ทนต่อการทุจริตถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการทุจริตไม่ว่าระดับเล็กหรือ
ใหญ่ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ประเทศชาติ ดังเช่นตัวอย่าง คดีรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร
ผลของการทุจริตสร้างความเสียหายไว้อย่างมาก รถและเรือดับเพลิงก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ รัฐต้องสูญเสีย
งบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ และประชาชนเองก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน หากเกิดเพลิงไหม้พร้อมกันหลายแห่ง รถ เรือและอุปกรณ์ดับเพลิงจะมีไม่เพียงพอที่จะดับไฟได้ทันเวลา เพียงแค่คิดจากมูลค่าความเสียหาย
ที่รัฐสูญเสียงบประมาณไป ยังไม่ได้คิดถึงความเสียหายที่เกิดจากความเดือดร้อนหากเกิดเพลิงไหม้แล้ว ถือเป็น
ความเสียหายที่สูงมาก ดังนั้น หากยังมีการปล่อยให้มีการทุจริต ยินยอมให้มีการทุจริตโดยเห็นว่าเป็นเรื่องของ
คนอื่น เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐไม่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้ว สุดท้ายความสูญเสียที่จะได้รับตนเองก็ยังคงที่จะได้รับ
ผลนั้นอยู่แม้ไม่ใช่ทางตรงก็ทางอ้อม
ดังนั้น การที่บุคคลจะเกิดความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
สร้างให้เกิดความตระหนัก และรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทุจริตในทุกรูปแบบ ทุกระดับ ซึ่งหากสังคม
เป็นสังคมที่มีความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตแล้ว จะทำให้เกิดสังคมที่น่าอยู่ และมีการพัฒนา
ในทุก ๆ ด้าน
3. การลงโทษทางสังคม (Social Sanction) หมายถึง ปฏิกิริยาปฏิบัติทางสังคม เป็นมาตรการ
ควบคุมทางสังคมที่ต้องการให้สมาชิกในสังคมประพฤติปฏิบัติตามมาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนด
โดยมีทั้งด้านลบและด้านบวก การลงโทษโดยสังคมเชิงลบ (Negative Social Sanction) เป็นการลงโทษ
โดยการกดดันและแสดงปฏิกิริยาต่อต้านพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม ทำให้บุคคล
นั้นเกิดความอับอายขายหน้า สำหรับการลงโทษโดยสังคมเชิงบวกหรือการกระตุ้นสังคมเชิงบวก (Positive
Social Sanction) เป็นการแสดงออกในเชิงสนับสนุนหรือให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ เพื่อให้บุคคลในสังคมประพฤติ
ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
การลงโทษทางสังคม เป็นการลงโทษกับบุคลที่ปฏิบัติตนฝ่าฝืนกับธรรมเนียม ประเพณี หรือแบบแผน
ที่ปฏิบัติต่อ ๆ กันมาในชุมชน มักใช้ในลักษณะการลงโทษทางสังคมเชิงลบมากกว่าเชิงบวก การฝ่าฝืนดังกล่าว
อาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ด้วยธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้นถูกละเมิด ถูกฝ่าฝืน หรือถูกดูหมิ่นเกี่ยวกับ
ความเชื่อของชุมชน ก็จะนำไปสู่การต่อต้านจากคนในชุมชน แม้ว่าการฝ่าฝืนดังกล่าวจะไม่ผิดกฎหมายก็ตาม
และที่สำคัญไปกว่านั้น หากการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายด้วยแล้วอาจสร้างให้เกิดความไม่พอใจขึ้นได้
ไม่เพียงแต่ในชุมชนนั้น แต่อาจเกี่ยวเนื่องไปกับชุมชนอื่นรอบข้าง หรือเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุด นั่นคือ ประชาชน
ทั้งประเทศซึ่งการลงโทษทางสังคมมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนี้
การลงโทษโดยสังคมเชิงบวก (Positive Social Sanctions) จะอยู่ในรูปของการให้การสนับสนุน
หรือการสร้างแรงจูงใจ หรือการให้รางวัล ฯลฯ แก่บุคคลและสังคม เพื่อให้ประพฤติปฏิบัติสอดคล้องกับบรรทัดฐาน
(Norm) ของสังคมในระดับชุมชนหรือในระดับสังคม
การลงโทษโดยสังคมเชิงลบ (Negative Social Sanctions) จะอยู่ในรูปแบบของการใช้
มาตรการต่าง ๆ ในการจัดระเบียบสังคม เช่น การว่ากล่าวตักเตือน ซึ่งเป็นมาตรการขั้นต่ำสุดเรื่อยไปจนถึงการกดดันและบีบคั้นทางจิตใจ (Moral Coercion) การต่อต้าน (Resistance) และการประท้วง (Protest)
ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดยปัจเจกบุคคลหรือการชุมนุมของมวลชน