แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่3 วงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า

แบบทดสอบหลังเรียน

เรื่องที่ 2 วงจรไฟฟ้า

 วงจรไฟฟ้า คือ การเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าไปยัง
เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า มี 3 แบบ คือ แบบอนุกรม แบบขนานและแบบผสม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

             วงจรไฟฟ้าภายในครัวเรือนจะเป็นการต่อแบบขนาน และเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดรับ
แรงดันไฟฟ้าขนาดเดียวกัน หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเกิดขัดข้องเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติ

             สำหรับประเทศไทย ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า
220 โวลต์ (V) (ความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ พลังงานไฟฟ้าที่ต่างกันระหว่างจุด 2 จุด) ความถี่ 50 เฮิรตซ์
(Hz) โดยใช้สายไฟ 3 เส้น คือ
          1) สายไฟ หรือเรียกว่า สายเส้นไฟ หรือ สาย L (Line) เป็นสายเส้นที่มีกระแสไฟไหล
ผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต่างศักย์ไฟฟ้า 220 โวลต์
          2) สายนิวทรัล หรือเรียกว่า สายศูนย์ หรือ สาย N (Neutral) เป็นส่วนหนึ่งของวงจร
มีหน้าที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร มีความต่างศักย์ไฟฟ้า 0 โวลต์
          3) สายดิน หรือเรียกว่า สาย G (Ground) เป็นสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า ทำหน้าที่รับ
กระแสไฟฟ้าที่รั่วมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และป้องกันอันตราย
แก่บุคคล อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าการต่อวงจรแบบผสมกระแสไฟฟ้าจะส่งผ่านมิเตอร์ไฟฟ้ามายังแผงควบคุมไฟฟ้า ซึ่งแผงควบคุมไฟฟ้าทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

          แผงควบคุมไฟฟ้าประกอบด้วยอุปกรณ์ตัดตอนหลัก หรือเรียกว่า เบรกเกอร์ (Main
Circuit Breaker หรือ Cut–out) ซึ่งมี 1 ตัวต่อครัวเรือน และมีอุปกรณ์ตัดตอนย่อยหลายตัวได้
ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีจุดต่อสายดินที่จะต่อไปยังเต้ารับ
หรือปลั๊กตัวเมียทุกจุดในครัวเรือน เพื่อต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า
 
 
 
 
 

              ข้อควรรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
        1) การกดสวิตช์ เพื่อเปิดไฟ คือ การทำให้วงจรปิด มีกระแสไฟฟ้าไหล
        2) การกดสวิตช์ เพื่อปิดไฟ คือ การทำให้วงจรเปิด ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
        3) ไฟตก คือ แรงดันไฟฟ้าตก อาจมีสาเหตุมาจากการที่โรงไฟฟ้าขัดข้อง หรือมีการใช้
            ไฟฟ้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว