แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 10 ความน่าจะเป็น

บทที่ 11 การใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในงานอาชีพ

เรื่องที่ 1 ลักษณะสมบัติและการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึม

ปริซึม  คือทรงหลายหน้าที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยมที่เหมือนกันและขนานกันสองหน้า และหน้าด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่หน้าตัดทุกตำแหน่งที่ขนานกับฐานจะเป็นรูปเดิมตลอด และปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย

    ในทางคณิตศาสตร์ ให้ความหมายคำว่า ปริซึม ดังนี้

       รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ฐานทั้งสองอยู่บนระนาบเดียวกัน และด้านข้างแต่ละด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หรือเรียกง่ายๆว่า แท่งเหลี่ยมตัน

   สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวกับปริซึม
ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน X ความสูง
พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึม = พื้นที่ผิวข้าง X พื้นที่หน้าตัดหัวท้าย
พื้นที่ผิวข้างของปริซึม = ความยาวเส้นรอบฐาน X ความสูง
 

 

         ปริซึมสามเหลี่ยม  เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด (ฐาน)   ทั้งสองข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม  ทั้งสองอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ปริซึมสี่เหลี่ยมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม  ทั้งสองอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
 ปริซึมห้าเหลี่ยมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปห้าเหลี่ยม  ทั้งสองอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก