แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 10 ความน่าจะเป็น

บทที่ 11 การใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในงานอาชีพ

เรื่องที่ 3 การหาปริมาตรของพีระมิด กรวยและทรงกลม

พีระมิด คือ วัตถุทรงสามมิติซึ่งฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยม มีหน้าทุกหน้า (ผิวข้าง) เป็นรูปสามเหลี่ยมโดยมีจุดยอดร่วมกันที่จุดหนึ่ง ทั้งนี้ยอดไม่อยู่ในระนาบเดียวกับฐาน

การเรียกพีระมิด มักเรียกตามชื่อรูปร่างของฐานพีระมิด เช่น
– หากฐานพีระมิดเป็นรูปสามเหลี่ยม จะเรียกว่า พีระมิดฐานสามเหลี่ยม (อาจเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว สามเหลี่ยมด้านเท่า หรือสามเหลี่ยมอื่น ๆ ก็ได้)
– หากฐานพีระมิดเป็นรูปสี่เหลี่ยม จะเรียกว่า พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม (อาจเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมอื่น ๆ ก็ได้)
– หากฐานพีระมิดเป็นรูปห้าเหลี่ยม จะเรียกว่า พีระมิดฐานห้าเหลี่ยม
– หากฐานพีระมิดเป็นรูปหกเปลี่ยม จะเรียกว่า พีระมิดฐานหกเหลี่ยม
– หากฐานพีระมิดเป็นรูป n เหลี่ยม จะเรียกว่า พีระมิดฐาน n เหลี่ยม (n คือ จำนวนเหลี่ยม)

สูตรการหาพื้นที่

– การหาพื้นที่ผิวของพีระมิด เป็นการหาพื้นที่ซึ่งเป็นผลรวมจาก พื้นที่ผิวข้างของพีระมิดกับพื้นที่ฐานของพีระมิด

พื้นที่ผิวของพีระมิด = พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด + พื้นที่ฐานของพีระมิด

สูตรการหาปริมาตร

 

กรวย เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วน

ข้อแตกต่างของพีระมิดกับกรวย คือ

– ฐาน พีระมิดฐานรูปหลายเหลี่ยม กรวยฐานรูปวงกลม
– ด้านข้าง พีระมิดเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้า กรวยเป็นผิวเรียบโค้ง

ส่วนประกอบของกรวย

การหาปริมาตรของกรวย

ปริมาตรของกรวย = 1/3 ของปริมาตรของทรงกระบอกที่มีพื้นที่ฐานเท่ากับพื้นที่ฐาน
ของกรวยและมีความสูงเท่ากับความสูงของกรวย

ปริมาตรของกรวย = 1/3 x พื้นที่ฐาน x ความสูง
หรือ ปริมาตรของกรวย = 1/3 πr^2 h

ทรงกลม เป็น รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกจุดคงที่ว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม เรียกระยะที่เท่ากันว่า รัศมีของทรงกลม

ส่วนประกอบของทรงกลม

หาพื้นที่ผิวและปริมาตร

พื้นที่ผิวข้างทรงกลม = 4π × r²
หรือ พื้นที่ผิวข้างทรงกลม = 4π × (d/2)² = π × d²

ปริมาตรของทรงกลม = 4/3 × r³