เรื่องที่ 1 เสียง รูปอักษรไทย และไตรยางค์

เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ เสียงที่ใช้สื่อความหมายในภาษาไทยจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ เสียงสระ(เสียงแท้) เสียงพยัญชนะ(เสียงแปร) เสียงวรรณยุกต์(เสียงดนตรี)
1. เสียงสระ คือเสียงที่เปล่งออกมาโดยตรงจากปอด ไม่ถูกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งกักไว้ในช่องปาก เสียงสระในภาษาไทย มี 21 รูป 32 เสียง หากแบ่งตามตำราไทยแต่เดิมจะแบ่งสระออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1.1 สระเดี่ยว(สระแท้)มี18 เสียงคือ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ
1.2 สระประสม(สระประสม) มี 6 เสียง คือ เอียะ เอีย อัวะ อัว เอือะ เอือ (ปัจจุบัน นับเป็น 3 พยางค์ ได้แก่ เอีย อัว เอือ)
1.3 สระเกิน (ปัจจุบันไม่นับเป็นสระเนื่องจากมีเสียงพยัญชนะต้น(ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ) และมีเสียงตัวสะกด(อำ ไอ ใอ เอา)

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทยและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ

ไตรยางค์ หรือ อักษรสามหมู่ คือ การจำแนกตัวอักษรออกเป็น 3 หมู่ โดยการแยกตามเสียงของอักษรนั้นๆ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ
ไตรยางค์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงสูงทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรสูงมีทั้งหมด 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
2.อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงกลางทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรกลางมีทั้งหมด 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3.อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงต่ำทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท